วันพ่อเเห่งชาติ5ธ้นวาคม2553ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า THE HIDEAWAY GROUP



วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555


                                   พร้อมให้บริการเร็วนี้ครับ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

The Hide Away Day Spa Groub


The Hide Away Spa Shop
1/19 Vises Rd., Rawai, Chalong, Phuket, Thailand
Tel: (66-76) 222222| Fax: (66-76) 222222 | E-mail: info@phuket-hideaway.com
© 2001 Hide Away Spa Shop; all rights reserved.

The Hide Away Day Spa Patong
157 Soi Nanai, Patong Beach Phuket 83150, Thailand Tel: (66) 81 892 3000 l (66) 76 340 591 l Fax: (66-76) 222-222E-mail: info@phuket-hideaway.com

The Hide Away Day SpaLaguna
382/33 Srisoontorn Road, Cherngtalay
(Laguna Resorts entrance Road), Talang, Phuket 83130
Phone/ Fax: (66-76) 271549,Mobile: (66) 81 750 0012
E-mail: info@phuket-hideaway.com

The Hide away day spa Chalong
1/19 Vises Rd., Rawai, Chalong, Phuket, Thailand
Tel: (66-76) 222222| Fax: (66-76) 222222
E-mail: info@phuket-hideaway.com

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว

เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว จะแก้ไขการอ่านหรือการแปลเครื่องหมายคำนั้นในภายหลังไม่ได้           
             เมื่อเครื่องหมายการค้าใดได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามปกติรายการทางทะเบียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาที่ความประสงค์ของผู้ขอจดทะเบียน บางรายการกฎหมายเครื่องหมายการค้าจะอนุญาตให้แก้ไขรายการนั้นได้เพียงบางส่วน แต่ถ้ามิได้บัญญัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการอะไรไว้ นั่นหมายความว่า รายการนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นหัวใจของการตรวจสอบเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ฯ มาตรา  52 บัญญัติไว้ว่า   เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว อาจขอให้นายทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(1)     ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่างที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
(2)     ชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และของตัวแทน ถ้ามี
(3)     สำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้
(4)     รายการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ข้อ 34 ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
4.1     ยกเลิกตัวแทน
4.2     ตั้งหรือเปลี่ยนตัวแทน
4.3     สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
               

              จากข้อความที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า จะแก้ไขรายการทางทะเบียนได้แต่เฉพาะเรื่องอะไรได้บ้าง โดยที่มิได้บัญญัติในเรื่องการให้อำนาจนายทะเบียนที่จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมายการค้า การอ่านแปลเครื่องหมายการค้าไว้เลย   สาเหตุเป็นเพราะรูปเครื่องหมายการค้าก็ดี  การอ่านแปลเครื่องหมายการค้าก็ดี เป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้านั้น ๆ จะรับจดทะเบียนได้หรือไม่ได้

              ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วรายใดจะยื่นคำร้องขอแก้ไขการอ่านแปลเครื่องหมายการค้าของตนเข้ามา ก็ขอให้พิจารณาให้ดี ๆ  เพราะหากยื่นขออ่านแปลเข้ามาใหม่ นายทะเบียนจะไม่พิจารณาอนุญาต เนื่องจากการอ่านแปลของท่านในขณะที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและก่อนการรับจดทะเบียนนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและมีการลงบันทึกสารบบเสียงของเครื่องหมายคำนั้นลงในสารบบคอมพิวเตอร์แล้ว การยื่นคำร้องขอแก้ไขการอ่านการแปลของท่านใหม่ในภายหลังเครื่องหมายการค้านั้นรับจดทะเบียนไปแล้ว นายทะเบียนไม่อาจดำเนินให้ได้เพราะจะส่งไปผลถึงเรื่องการตรวจสอบความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้า และการมีลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าของท่านหรือไม่ โดยท่านจะเสียค่าธรรมเนียมไปโดยเปล่าประโยชน์ และไม่อาจที่จะเรียกคืนจากทางราชการได้ด้วย

                ข้อควรจดจำก็คือการอ่านแปลเครื่องหมายคำนั้น จะต้องเป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาต่างประเทศ ถ้าเป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาไทยไม่ต้องอ่านแปล เนื่องจากเป็นกรณีที่กฎกระทรวงมิได้กำหนดให้ต้องอ่านแปล แต่ถ้าหากท่านยังคงอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาษาไทยเข้ามา ท่านก็อาจจะต้องมาแก้ไขโดยขีดฆ่าการอ่านแปลนั้นออกจากคำขอจดทะเบียนซึ่งจะทำให้ท่านต้องเสียเวลามาดำเนินการในเรื่องนี้ ฉะนั้น ขอให้ระลึกไว้ว่า จะอ่านแปลก็แต่เฉพาะเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น


                ในบางกรณีไม่สดวกในการหาพจนานุกรม เนื่องจากเป็นภาษาที่คนไทยไม่คุ้นเคย  โปรดอย่าเดาสุ่มอ่านแปลมา เพราะนายทะเบียนจะสั่งการให้ท่านส่งหลักฐานการอ่านแปลมาประกอบการพิจารณาทุกครั้งไปอยู่แล้ว ดังนั้น ก่อนจะยื่นคำขอจดทะเบียน ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศที่คนไทยไม่คุ้นเคยกัน เช่น ภาษาอาหรับ ภาษาท้องถิ่นของต่างประเทศ ขอให้ท่านส่งหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษานั้น ๆ มาประกอบการจดทะเบียนด้วยทุกครั้งไป เช่น คำรับรองคำอ่านคำแปลของเจ้าหน้าที่ของสถานฑูตของประเทศนั้น ๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยก็ได้ จะทำให้การยื่นคำขอจดทะเบียนของท่านได้รับการพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น


                เมื่อทราบถึงความสำคัญของการที่ต้องอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำเช่นนี้แล้ว เมื่อเวลาที่จะยื่นคำขอจดทะเบียน ท่านสามารถที่จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเบื้องต้นได้ส่วนหนึ่งว่า เครื่องหมายการค้าของท่านที่จะขอจดทะเบียนนั้น มีโอกาสในการที่จะได้รับการจดทะเบียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในการยื่นคำขอจดทะเบียนได้บ้าง


                ฉะนั้น เมื่อท่านจะยื่นคำขอจดทะเบียน ถ้าเป็นเครื่องหมายคำ ขอให้ท่านระบุคำอ่านและคำแปลมาให้ครบถ้วน โดยให้ท่านยึดหลักการอ่านแปลตามพจนานุกรมที่ได้มาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องเป็นพจนานุกรมที่มีราคาแพง จะเป็นพจนานุกรมที่ใช้เรียนกันในชั้นประถมหรือมัธยมก็ได้  อย่าอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำตามใจของท่าน หรือมีเจตนาบิดเพี้ยนการแปล เนื่องจากนายทะเบียนจะต้องสั่งการให้ท่านอ่านแปลใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ท่านต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมคำร้องการอ่านแปลใหม่ต่างหาก และเสียเวลาในการมาติดต่อกับทางราชการอีกด้วย

การเก็บสารบบเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาจีนก็ยังคงยึดหลักแนวการปฎิบัติเดิมคือ เก็บเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาจีนตามสำเนียงจีนแต้จิ๋วมาโดยตลอด  เนื่องจากกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และผลใช้บังคับเมื่อวันที่  13 มีนาคม พ.ศ.2535 ข้อ  12 กำหนดว่า “  เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ระบุคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาไทยไว้ด้วย เว้นแต่ข้อความที่เป็นภาษาต่างประเทศนั้นมิใช่กรณีที่จะจัดทำคำแปลได้ ทั้งนี้ โดยจัดให้มีคำรับรองคำอ่านและคำแปลดังกล่าวว่าถูกต้องของผู้ขอมาในคำขอจดทะเบียนด้วย ”
@@@@@@@@@@@@@@@@
นายพิบูล ตันศุภผล  นบ., นบท.
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
21 มีนาคม  2550


คดีแพ่งที่เกี่ยวกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ

คดีแพ่งที่เกี่ยวกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ

     คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินฯ ตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ พ.ศ.2539 ได้แก่  คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  และคดีพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี  หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า 
นอกจากจะหมายถึงการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 (1) และ (4) แล้ว ยังหมายถึงคดีดังต่อไปนี้ด้วย
1.  คดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44) ได้แก่
     ก.  ใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
     ข.ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
     ค. เจ้าของเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น มาตรา 46 วรรค 2

2.  คดีอื่น ๆ
     ก.  ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำสั่ง หรือ คำวินิจฉัยของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
     ข. ฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย มาตรา 67
     ค. การอนุญาตให้ใช้และการโอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มาตรา 49, มาตรา 68

ตอบ:การกรอกแบบ ก.12

มาตรา    การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น  จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันก็ได้  แต่ต้องระบุ
รายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองแต่ละอย่างโดยชัดแจ้ง
คำขอจดทะเบียนฉบับหนึ่ง  จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันมิได้
การกำหนดจำพวกสินค้า  ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา  ๑๗   ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน
รายใดหากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้ว  มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม
มาตรา   แต่เครื่องหมายการค้ารายนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วน  เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวกอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวก็ดี  หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ
ก็ดี  ให้นายทะเบียนมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธว่า  ไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้ารายนั้น  ทั้งนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
(สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธอย่างอื่น  ตามที่นายทะเบียนเห็นว่า
จำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น  ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง  ให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศกำหนดสิ่งที่นายทะเบียนเห็นว่า  เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้า
บางอย่างหรือบางจำพวก
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งตามวรรคหนึ่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า


ตอบ:การกรอกแบบ .12 

การยื่นแบบคำขอปฏิเสธสิทธิ (แบบ .12) ซึ่งในแบบคำขอนั้น ในข้อ 3 จะเป็นการแสดงปฏิเสธสิทธิบางส่วนของเครื่องหมายการค้า ตามหน้งสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนจะระบุไว้ให้แล้วว่าจะต้องสละสิทธิอะไรบ้างในเครื่อง หมายการค้านั้น ส่วนข้อ 4 ของแบบ .12 นั้น จะเป็นกรณีที่นายทะเบียนต้องการให้ผู้ขอจดทะเบียนระบุการรับรองการใช้สิทธิบางอย่างในเครี่องหมายการค้า เช่น การให้ผู้ขอจดทะเบียนรับรองว่าจะไม่ใช้สีแถบให้เหมือนหรือคล้ายกับสีแถบธงชาติไทย ซึ่งตามหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนก็จะระบุให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบแล้วว่าจะต้องรับรองอะไรบ้าง
ตามแบบคำขอ .12 ข้อที่ 3 จะมีข้อความว่า "ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้" ฉะนั้นเมื่อในหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องแสดงสิทธิปฏิเสธส่วน ของเครื่องหมายนั้นแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนก็นำข้อความที่นายทะเบียนระบุไว้ในหนังสือแจ้งนั้นพิมพ์ต่อท้ายหลังข้อความในข้อที่ 3 ของแบบ .12 เช่น อย่างกรณีของท่าน เมื่อต้องการจะปฏิเสธสิทธิอักษรโรมันคำว่า "LABCONNECT THE BEST CHOICE LIS" นั้น ท่านก็นำข้อความดังกล่าวไประบุไว้ในข้อที่ 3 หลังข้อความว่า "ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้" ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ข้อ 3 ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ "อักษรโรมันคำว่า LABCONNECT THE BEST CHOICE LIS"
ส่วนในข้อ 4 ซึ่งเป็นกรณีของการรับรองการใช้เครื่องหมายการค้านั้น ถ้าหากในหนังสือแจ้งนายทะเบียนไม่ได้มีคำสั่งไปด้วย ผู้ขอก็ไม่ต้องระบุข้อความใดเลย

สรุป การแสดงสิทธิปฏิเสธ เป็นการแสดงเจตนาเฉพาะส่วนในเครื่องหมายนั้น ภาคส่วนอื่นของเครื่องหมายยังใช้จดทะเบียนได้ และคำสั่งนี้มิได้ทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ไม่ได้


ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นายกันตภณ ทองมาก)





ถามตอบกรม

1. ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534 แก้ไขเพิ่มเติม ..2543 ระบุไว้ว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ทั้งนี้จะเป็นการโอนหรือรับมรดกพร้อมกับกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้  หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น คำขอ 644471 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ตามนี้
2. มาตรา 68 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคล ื่นใช้เครื่องหมยาการค้าของตนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
ดังนั้น เมื่อ บริษัท . ได้รับโอนเครื่องหมายการค้าแล้วย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายนั้นและสามารถทำสัญญาอนุญาตให้ ช้เครื่องหมายการค้าเป็นหนังสือให้บริษัท ท็อปไลน์ ลิฟวิ่ง ใช้ได้ด้วย แต่ต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตต่อนายทะเบียน
3. ผู้ประกอบการค้า จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่มีจำกัดจำนวน
4. การจัดเตรียมเอกสาร
4.1 แบบ .04 และสัญญาโอน (.17)ซึ่งลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนกรณีมีแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อ ที่อยู่เจ้าของให้ยื่นแบบ .06
4.2 ต้นฉบับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้โอน
4.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองบริษัท ทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประจำตัว)
5. ค่าธรรมเนียมในการยื่น
5.1 แบบคำขอ .04 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 100 บาท
5.2 แบบคำขอ .06 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 200 บาท
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วนำมายื่นได้ที่ชั้น 3 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดของจั หวัดนั้น ได้

ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นางสาวศรีอนงค์ ปักษาจันทร์)
1. ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534 แก้ไขเพิ่มเติม ..2543 ระบุไว้ว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ทั้งนี้จะเป็นการโอนหรือรับมรดกพร้อมกับกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้  หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น คำขอ 644471 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ตามนี้
2. มาตรา 68 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคล ื่นใช้เครื่องหมยาการค้าของตนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
ดังนั้น เมื่อ บริษัท . ได้รับโอนเครื่องหมายการค้าแล้วย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายนั้นและสามารถทำสัญญาอนุญาตให้ ช้เครื่องหมายการค้าเป็นหนังสือให้บริษัท ท็อปไลน์ ลิฟวิ่ง ใช้ได้ด้วย แต่ต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตต่อนายทะเบียน
3. ผู้ประกอบการค้า จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่มีจำกัดจำนวน
4. การจัดเตรียมเอกสาร
4.1 แบบ .04 และสัญญาโอน (.17)ซึ่งลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนกรณีมีแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อ ที่อยู่เจ้าของให้ยื่นแบบ .06
4.2 ต้นฉบับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้โอน
4.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองบริษัท ทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประจำตัว)
5. ค่าธรรมเนียมในการยื่น
5.1 แบบคำขอ .04 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 100 บาท
5.2 แบบคำขอ .06 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 200 บาท
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วนำมายื่นได้ที่ชั้น 3 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดของจั หวัดนั้น ได้

ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นางสาวศรีอนงค์ ปักษาจันทร์)