วันพ่อเเห่งชาติ5ธ้นวาคม2553ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า THE HIDEAWAY GROUP



วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว

เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว จะแก้ไขการอ่านหรือการแปลเครื่องหมายคำนั้นในภายหลังไม่ได้           
             เมื่อเครื่องหมายการค้าใดได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามปกติรายการทางทะเบียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาที่ความประสงค์ของผู้ขอจดทะเบียน บางรายการกฎหมายเครื่องหมายการค้าจะอนุญาตให้แก้ไขรายการนั้นได้เพียงบางส่วน แต่ถ้ามิได้บัญญัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการอะไรไว้ นั่นหมายความว่า รายการนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นหัวใจของการตรวจสอบเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ฯ มาตรา  52 บัญญัติไว้ว่า   เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว อาจขอให้นายทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(1)     ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่างที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
(2)     ชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และของตัวแทน ถ้ามี
(3)     สำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้
(4)     รายการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  ข้อ 34 ซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
4.1     ยกเลิกตัวแทน
4.2     ตั้งหรือเปลี่ยนตัวแทน
4.3     สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
               

              จากข้อความที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า จะแก้ไขรายการทางทะเบียนได้แต่เฉพาะเรื่องอะไรได้บ้าง โดยที่มิได้บัญญัติในเรื่องการให้อำนาจนายทะเบียนที่จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมายการค้า การอ่านแปลเครื่องหมายการค้าไว้เลย   สาเหตุเป็นเพราะรูปเครื่องหมายการค้าก็ดี  การอ่านแปลเครื่องหมายการค้าก็ดี เป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้านั้น ๆ จะรับจดทะเบียนได้หรือไม่ได้

              ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วรายใดจะยื่นคำร้องขอแก้ไขการอ่านแปลเครื่องหมายการค้าของตนเข้ามา ก็ขอให้พิจารณาให้ดี ๆ  เพราะหากยื่นขออ่านแปลเข้ามาใหม่ นายทะเบียนจะไม่พิจารณาอนุญาต เนื่องจากการอ่านแปลของท่านในขณะที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและก่อนการรับจดทะเบียนนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและมีการลงบันทึกสารบบเสียงของเครื่องหมายคำนั้นลงในสารบบคอมพิวเตอร์แล้ว การยื่นคำร้องขอแก้ไขการอ่านการแปลของท่านใหม่ในภายหลังเครื่องหมายการค้านั้นรับจดทะเบียนไปแล้ว นายทะเบียนไม่อาจดำเนินให้ได้เพราะจะส่งไปผลถึงเรื่องการตรวจสอบความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้า และการมีลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าของท่านหรือไม่ โดยท่านจะเสียค่าธรรมเนียมไปโดยเปล่าประโยชน์ และไม่อาจที่จะเรียกคืนจากทางราชการได้ด้วย

                ข้อควรจดจำก็คือการอ่านแปลเครื่องหมายคำนั้น จะต้องเป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาต่างประเทศ ถ้าเป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาไทยไม่ต้องอ่านแปล เนื่องจากเป็นกรณีที่กฎกระทรวงมิได้กำหนดให้ต้องอ่านแปล แต่ถ้าหากท่านยังคงอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาษาไทยเข้ามา ท่านก็อาจจะต้องมาแก้ไขโดยขีดฆ่าการอ่านแปลนั้นออกจากคำขอจดทะเบียนซึ่งจะทำให้ท่านต้องเสียเวลามาดำเนินการในเรื่องนี้ ฉะนั้น ขอให้ระลึกไว้ว่า จะอ่านแปลก็แต่เฉพาะเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น


                ในบางกรณีไม่สดวกในการหาพจนานุกรม เนื่องจากเป็นภาษาที่คนไทยไม่คุ้นเคย  โปรดอย่าเดาสุ่มอ่านแปลมา เพราะนายทะเบียนจะสั่งการให้ท่านส่งหลักฐานการอ่านแปลมาประกอบการพิจารณาทุกครั้งไปอยู่แล้ว ดังนั้น ก่อนจะยื่นคำขอจดทะเบียน ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศที่คนไทยไม่คุ้นเคยกัน เช่น ภาษาอาหรับ ภาษาท้องถิ่นของต่างประเทศ ขอให้ท่านส่งหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษานั้น ๆ มาประกอบการจดทะเบียนด้วยทุกครั้งไป เช่น คำรับรองคำอ่านคำแปลของเจ้าหน้าที่ของสถานฑูตของประเทศนั้น ๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยก็ได้ จะทำให้การยื่นคำขอจดทะเบียนของท่านได้รับการพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น


                เมื่อทราบถึงความสำคัญของการที่ต้องอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำเช่นนี้แล้ว เมื่อเวลาที่จะยื่นคำขอจดทะเบียน ท่านสามารถที่จะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเบื้องต้นได้ส่วนหนึ่งว่า เครื่องหมายการค้าของท่านที่จะขอจดทะเบียนนั้น มีโอกาสในการที่จะได้รับการจดทะเบียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในการยื่นคำขอจดทะเบียนได้บ้าง


                ฉะนั้น เมื่อท่านจะยื่นคำขอจดทะเบียน ถ้าเป็นเครื่องหมายคำ ขอให้ท่านระบุคำอ่านและคำแปลมาให้ครบถ้วน โดยให้ท่านยึดหลักการอ่านแปลตามพจนานุกรมที่ได้มาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องเป็นพจนานุกรมที่มีราคาแพง จะเป็นพจนานุกรมที่ใช้เรียนกันในชั้นประถมหรือมัธยมก็ได้  อย่าอ่านแปลเครื่องหมายการค้าที่เป็นเครื่องหมายคำตามใจของท่าน หรือมีเจตนาบิดเพี้ยนการแปล เนื่องจากนายทะเบียนจะต้องสั่งการให้ท่านอ่านแปลใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ท่านต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมคำร้องการอ่านแปลใหม่ต่างหาก และเสียเวลาในการมาติดต่อกับทางราชการอีกด้วย

การเก็บสารบบเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาจีนก็ยังคงยึดหลักแนวการปฎิบัติเดิมคือ เก็บเครื่องหมายคำที่เป็นภาษาจีนตามสำเนียงจีนแต้จิ๋วมาโดยตลอด  เนื่องจากกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และผลใช้บังคับเมื่อวันที่  13 มีนาคม พ.ศ.2535 ข้อ  12 กำหนดว่า “  เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ระบุคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาไทยไว้ด้วย เว้นแต่ข้อความที่เป็นภาษาต่างประเทศนั้นมิใช่กรณีที่จะจัดทำคำแปลได้ ทั้งนี้ โดยจัดให้มีคำรับรองคำอ่านและคำแปลดังกล่าวว่าถูกต้องของผู้ขอมาในคำขอจดทะเบียนด้วย ”
@@@@@@@@@@@@@@@@
นายพิบูล ตันศุภผล  นบ., นบท.
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
21 มีนาคม  2550


คดีแพ่งที่เกี่ยวกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ

คดีแพ่งที่เกี่ยวกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ

     คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินฯ ตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ พ.ศ.2539 ได้แก่  คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  และคดีพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี  หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า 
นอกจากจะหมายถึงการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 (1) และ (4) แล้ว ยังหมายถึงคดีดังต่อไปนี้ด้วย
1.  คดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44) ได้แก่
     ก.  ใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
     ข.ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
     ค. เจ้าของเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น มาตรา 46 วรรค 2

2.  คดีอื่น ๆ
     ก.  ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำสั่ง หรือ คำวินิจฉัยของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
     ข. ฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย มาตรา 67
     ค. การอนุญาตให้ใช้และการโอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มาตรา 49, มาตรา 68

ตอบ:การกรอกแบบ ก.12

มาตรา    การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น  จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันก็ได้  แต่ต้องระบุ
รายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองแต่ละอย่างโดยชัดแจ้ง
คำขอจดทะเบียนฉบับหนึ่ง  จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันมิได้
การกำหนดจำพวกสินค้า  ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา  ๑๗   ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน
รายใดหากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้ว  มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม
มาตรา   แต่เครื่องหมายการค้ารายนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วน  เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวกอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวก็ดี  หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ
ก็ดี  ให้นายทะเบียนมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธว่า  ไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้ารายนั้น  ทั้งนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
(สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธอย่างอื่น  ตามที่นายทะเบียนเห็นว่า
จำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น  ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง  ให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศกำหนดสิ่งที่นายทะเบียนเห็นว่า  เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้า
บางอย่างหรือบางจำพวก
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งตามวรรคหนึ่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า


ตอบ:การกรอกแบบ .12 

การยื่นแบบคำขอปฏิเสธสิทธิ (แบบ .12) ซึ่งในแบบคำขอนั้น ในข้อ 3 จะเป็นการแสดงปฏิเสธสิทธิบางส่วนของเครื่องหมายการค้า ตามหน้งสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนจะระบุไว้ให้แล้วว่าจะต้องสละสิทธิอะไรบ้างในเครื่อง หมายการค้านั้น ส่วนข้อ 4 ของแบบ .12 นั้น จะเป็นกรณีที่นายทะเบียนต้องการให้ผู้ขอจดทะเบียนระบุการรับรองการใช้สิทธิบางอย่างในเครี่องหมายการค้า เช่น การให้ผู้ขอจดทะเบียนรับรองว่าจะไม่ใช้สีแถบให้เหมือนหรือคล้ายกับสีแถบธงชาติไทย ซึ่งตามหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนก็จะระบุให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบแล้วว่าจะต้องรับรองอะไรบ้าง
ตามแบบคำขอ .12 ข้อที่ 3 จะมีข้อความว่า "ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้" ฉะนั้นเมื่อในหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องแสดงสิทธิปฏิเสธส่วน ของเครื่องหมายนั้นแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนก็นำข้อความที่นายทะเบียนระบุไว้ในหนังสือแจ้งนั้นพิมพ์ต่อท้ายหลังข้อความในข้อที่ 3 ของแบบ .12 เช่น อย่างกรณีของท่าน เมื่อต้องการจะปฏิเสธสิทธิอักษรโรมันคำว่า "LABCONNECT THE BEST CHOICE LIS" นั้น ท่านก็นำข้อความดังกล่าวไประบุไว้ในข้อที่ 3 หลังข้อความว่า "ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้" ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ข้อ 3 ข้าพเจ้าไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ "อักษรโรมันคำว่า LABCONNECT THE BEST CHOICE LIS"
ส่วนในข้อ 4 ซึ่งเป็นกรณีของการรับรองการใช้เครื่องหมายการค้านั้น ถ้าหากในหนังสือแจ้งนายทะเบียนไม่ได้มีคำสั่งไปด้วย ผู้ขอก็ไม่ต้องระบุข้อความใดเลย

สรุป การแสดงสิทธิปฏิเสธ เป็นการแสดงเจตนาเฉพาะส่วนในเครื่องหมายนั้น ภาคส่วนอื่นของเครื่องหมายยังใช้จดทะเบียนได้ และคำสั่งนี้มิได้ทำให้เครื่องหมายนั้นใช้ไม่ได้


ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นายกันตภณ ทองมาก)





ถามตอบกรม

1. ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534 แก้ไขเพิ่มเติม ..2543 ระบุไว้ว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ทั้งนี้จะเป็นการโอนหรือรับมรดกพร้อมกับกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้  หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น คำขอ 644471 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ตามนี้
2. มาตรา 68 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคล ื่นใช้เครื่องหมยาการค้าของตนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
ดังนั้น เมื่อ บริษัท . ได้รับโอนเครื่องหมายการค้าแล้วย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายนั้นและสามารถทำสัญญาอนุญาตให้ ช้เครื่องหมายการค้าเป็นหนังสือให้บริษัท ท็อปไลน์ ลิฟวิ่ง ใช้ได้ด้วย แต่ต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตต่อนายทะเบียน
3. ผู้ประกอบการค้า จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่มีจำกัดจำนวน
4. การจัดเตรียมเอกสาร
4.1 แบบ .04 และสัญญาโอน (.17)ซึ่งลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนกรณีมีแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อ ที่อยู่เจ้าของให้ยื่นแบบ .06
4.2 ต้นฉบับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้โอน
4.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองบริษัท ทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประจำตัว)
5. ค่าธรรมเนียมในการยื่น
5.1 แบบคำขอ .04 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 100 บาท
5.2 แบบคำขอ .06 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 200 บาท
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วนำมายื่นได้ที่ชั้น 3 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดของจั หวัดนั้น ได้

ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นางสาวศรีอนงค์ ปักษาจันทร์)
1. ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534 แก้ไขเพิ่มเติม ..2543 ระบุไว้ว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ทั้งนี้จะเป็นการโอนหรือรับมรดกพร้อมกับกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้  หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น คำขอ 644471 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ตามนี้
2. มาตรา 68 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคล ื่นใช้เครื่องหมยาการค้าของตนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
ดังนั้น เมื่อ บริษัท . ได้รับโอนเครื่องหมายการค้าแล้วย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายนั้นและสามารถทำสัญญาอนุญาตให้ ช้เครื่องหมายการค้าเป็นหนังสือให้บริษัท ท็อปไลน์ ลิฟวิ่ง ใช้ได้ด้วย แต่ต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตต่อนายทะเบียน
3. ผู้ประกอบการค้า จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่มีจำกัดจำนวน
4. การจัดเตรียมเอกสาร
4.1 แบบ .04 และสัญญาโอน (.17)ซึ่งลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนกรณีมีแก้ไขเปลี่ยนแปลง ชื่อ ที่อยู่เจ้าของให้ยื่นแบบ .06
4.2 ต้นฉบับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้โอน
4.3 ต้นฉบับหนังสือรับรองบริษัท ทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประจำตัว)
5. ค่าธรรมเนียมในการยื่น
5.1 แบบคำขอ .04 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 100 บาท
5.2 แบบคำขอ .06 ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 200 บาท
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วนำมายื่นได้ที่ชั้น 3 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดของจั หวัดนั้น ได้

ผู้ตอบ สำนักเครื่องหมายการค้า (นางสาวศรีอนงค์ ปักษาจันทร์)